header photo

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access)

access เป็นโปรแกรมที่ถูกใช้เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งง่ายสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ในเรื่องการเขียนโปรแกรม และผู้ที่เคยพัฒนาระบบฐานข้อมูลมาก่อน โดยโปรแกรมนี้ จะช่วยให้การพัฒนาระบบ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ มีเพื่อให้ผู้พัฒนาสร้างระบบขึ้นมาได้ง่าย และรวดเร็ว


ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) คือ โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างแบบสอบถามได้ง่าย มีวัตถุคอนโทลให้เรียกใช้ในรายงานและฟอร์ม สร้างมาโครและโมดูลด้วยภาษาเบสิก เพื่อประมวลผลตามหลักภาษาโครงสร้าง สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นเพียงระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอกเรียกใช้ก็ได้
ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) ต่างกับ วิชวลเบสิก (Visual Basic) หรือวิชวลเบสิกดอทเน็ต (Visual Basic .Net) เพราะ วิชวลเบสิกไม่มีส่วนเก็บข้อมูลในตนเอง แต่สามารถพัฒนาโปรแกรมได้หลากหลาย เช่น พัฒนาโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ โปรแกรมประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ เกมส์ หรือเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลภายนอก เป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) ส่วนไมโครซอฟท์แอคเซสเหมาะสำหรับนักพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ไม่ต้องการโปรแกรมที่ซับซ้อน ความสามารถของโปรแกรมที่สำคัญคือสร้างตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม หรือรายงานในแฟ้มเดียวกันได้ ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานและวิซซาร์ดจึงอำนวยให้พัฒนาโปรแกรมให้แล้วเสร็จได้ในเวลาอันสั้น มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างครบถ้วน

โปรแกรม access คืออะไร

access เป็นโปรแกรมที่ถูกใช้เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งง่ายสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ในเรื่องการเขียนโปรแกรม และผู้ที่เคยพัฒนาระบบฐานข้อมูลมาก่อน โดยโปรแกรมนี้ จะช่วยให้การพัฒนาระบบ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ มีเพื่อให้ผู้พัฒนาสร้างระบบขึ้นมาได้ง่าย และรวดเร็ว
ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) คือ โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างแบบสอบถามได้ง่าย มีวัตถุคอนโทลให้เรียกใช้ในรายงานและฟอร์ม สร้างมาโครและโมดูลด้วยภาษาเบสิก เพื่อประมวลผลตามหลักภาษาโครงสร้าง สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นเพียงระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอกเรียกใช้ก็ได้
ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) ต่างกับ วิชวลเบสิก (Visual Basic) หรือวิชวลเบสิกดอทเน็ต (Visual Basic .Net) เพราะ วิชวลเบสิกไม่มีส่วนเก็บข้อมูลในตนเอง แต่สามารถพัฒนาโปรแกรมได้หลากหลาย เช่น พัฒนาโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ โปรแกรมประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ เกมส์ หรือเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลภายนอก เป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) ส่วนไมโครซอฟท์แอคเซสเหมาะสำหรับนักพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ไม่ต้องการโปรแกรมที่ซับซ้อน ความสามารถของโปรแกรมที่สำคัญคือสร้างตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม หรือรายงานในแฟ้มเดียวกันได้ ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานและวิซซาร์ดจึงอำนวยให้พัฒนาโปรแกรมให้แล้วเสร็จได้ในเวลาอันสั้น มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างครบถ้วน

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีสมัยใหม่ตอนที่ 3

ทางด่วนข้อมูล
ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway ) เป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยการวางเส้นใยนำแสงไปตามแนวทางรถไฟ เพื่อใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ได้รับบริการครบทุกแห่งในประเทศไทย ลักษณะของทางด่วนข้อมูล คือ การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง (ข้อมูลในที่นี้หมายรวมถึงภาพและเสียงด้วย)

ระบบรักษาความปลอดภัย
สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ควรมีกำลังไฟสำรองที่สามารถทำงานแทนกำลังไฟฟ้าหลักทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะต้องมีการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด ควรจำกัดสิทะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่จะสามารถเข้า – ออกได้ เป็นต้น
ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันมีไวรัสที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำลายระบบข้อมูลโดยตรง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมและเตรียมการป้องกันอยู่เสมอ
ข้อมูลจะต้องมีการสำเนาไว้ ไม่ว่าจะบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง หรือ ใช้ระบบสำรองข้อมูล และถ้าข้อมูลมีความสำคัญมากก็จะต้องมีการจัดเก็บไว้ในสถานที่ 2 แห่ง ขึ้นไป
มีการจำกัดสิทธิผู้ใช้ระบบ โดยการกำหนดรหัสผ่านให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละระดับ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ
1. ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่ WWW แต่ไม่ให้บริการ E – Mail เป็นต้น
2. คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่ มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่


เทคโนโลยีสมัยใหม่ตอนที่ 2

ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต
มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ โปรโตคอล ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP
TCP/IP คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ ไอพีแอดเดรส (IP Address ) เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่ง ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255
ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรส เช่น 202.44.202
.3

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1. 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Pentium 233 ขึ้นไป
2. 2. หน่วยความจำ (RAM) 64 MB. ขึ้นไป
3. 3. ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1.2 GB.ขึ้นไป
4. 4. จอภาพแบบ SVGA
5. 5. โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 33.6 Kbps-56 Kbps
6. 6. โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 1 คู่สาย

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem ) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก
จะใช้สาย Lease Line ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์ การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก

เทคโนโลยีสมัยใหม่ตอนที่ 1

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งทางราชการ และเอกชน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

1. ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Project Agency ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จึงมีชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)

2. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นได้เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลักษณะการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นครั้งคราว และใช้โมเด็มความเร็วเพียง 2,400 บิตต่อวินาทีเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก โดยมีความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที
3 ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต คือ สิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของเราได้ ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต ได้แก่
1. เวิลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW )
2. โกเฟอร์ (Gopher)
3. เทลเน็ต (Telnet)
4. เวย์ส(WAIS } Wide Area Information Sevice )
5. อาร์ชี ( Archie)

4 เว็บบราวเซอร์ (Web Browser )
Web Browser เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น WWW ซึ่ง Web Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ โฮสต์ เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตอนที่ 2

เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ
- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน
- เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่

1. แบบดาวเทียม
เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer ) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุด ต่าง ๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูก ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้การสื่อสารจึงทำให้การตอบสนองที่รวดเร็ว การส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่น ๆ การควบคุมการรับ – ส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที

2.แบบวงแหวน (Ring Network )
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน การส่งข้อมูลจะส่งผ่านไปตามสายวงแหวนดดยกำหนดแอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งผ่าน ๆ ทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์

3.แบบบัส (Bus Network )
มีลักษณะคล้ายวงแหวน แต่ไม่ต่อเป็นวงกลม มีสายสื่อสาร 1 สาย โดยแต่ละสถานีจะถูกต่อเข้ากับสายโดยไม่มีตัวใดเป็นตัวควบคุม การส่งข้อมูลระหว่าง 2 สถานี จะทำผ่านทางสายหรือบัสนี้ การต่อแบบนี้ไม่มีตัวศูนย์กลางควบคุม ดังนั้นถ้าหลาย ๆ สถานีต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือ จะต้องรอจนกว่าสายจะว่าง แล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

แบบผสม (Hybrid Network)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน คือ จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตอนที่ 1

ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications ) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านทางช่องสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันวิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
1. ตัวส่งข้อมูล
2. ช่องทางการส่งสัญญาณ
3. ตัวรับข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open System Interconnection Model ) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้

การส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับส่งหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้